ReadyPlanet.com


อาหาร ฉบับนักฟุตบอล


สิ่งหนึ่งที่มีความสำคัญต่อเบื้องหลังความสำเร็จของนักฟุตบอล นอกจากการฝึกซ้อมและการวางแผนที่เฉียบขาดแล้ว ก็คือ เรื่องของโภชนาการ โดยเฉพาะสำหรับกีฬาที่ต้องใช้พลังงานสูงอย่าง ฟุตบอล ภาวะทางโภชนาการที่สมบูรณ์จะช่วยให้นักกีฬาสามารถดึงศักยภาพตัวเองออกมาได้เต็มที่ และไม่หมดไฟก่อนที่เวลา 90 นาทีจะสิ้นสุดลง หลักสำคัญในการดูแลเรื่องอาหารการกินสำหรับนักฟุตบอล และนักกีฬาประเภทอื่น ๆ ก็คือ การรับประทานอาหารที่มีสารอาหารที่สำคัญอย่างครบถ้วนและมีพลังงานพอเพียงสำหรับการใช้งาน เอาเป็นว่าหนุ่ม ๆ คนไหนอยากรู้วิถีการกินอาหารฟุตบอลอีกนั้น มาเรียนรู้พร้อมกันได้เลย

1. ปรับตัวเรื่องอาหารการกิน

สำหรับนักกีฬาที่ต้องไปแข่งขันในต่างถิ่น นอกเหนือจากการปรับตัวให้เข้ากับสภาพอากาศและสิ่งแวดล้อมแล้ว การปรับตัวเรื่องอาหารการกินก็มีความสำคัญไม่แพ้กัน บ่อยครั้งนักกีฬามักจะไปพักกันที่โรงแรม ซึ่งสำหรับคนทั่วไปแล้วก็คงคิดว่าอาหารโรงแรมต้องอร่อยถูกปากนักกีฬาอย่างแน่นอน ซึ่งก็เป็นเช่นนั้นจริง ๆ แต่เป็นแค่ช่วงไม่กี่วันแรกเท่านั้น เพราะหลังจากนั้นความเบื่อก็เริ่มมาเยือนอันเนื่องมาจากเมนูเดิม ๆ ตลอด เรียกได้ว่าตื่นมาก็รู้แล้วว่าแต่ละมื้อน่าจะเจออาหารอะไรบ้าง ถ้าเป็นนักกีฬาไทยก็จะเริ่มงัดเอาน้ำพริก บะหมี่กึ่งสำเร็จรูปมากิน ดังนั้นผู้ที่มีหน้าที่ดูแลเรื่องอาหารสำหรับทีมก็ต้องเตรียมการ เพื่อให้นักกีฬามีอาหารที่มีความหลากหลาย และมีคุณค่าทางโภชนาการทั้งในแง่ของสารอาหารและพลังงานตามที่ต้องการ

2. แคลอรีที่เหมาะสม

ปริมาณพลังงานจากอาหารที่นักกีฬาต้องการในแต่ละวันนั้นขึ้นอยู่กับน้ำหนักตัว และความหนักของกิจกรรมที่ต้องทำ โดยปริมาณความต้องการพลังงานพื้นฐานของคนทั่วไปจะอยู่ที่ 20-30 กิโลแคลอรีต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม ถ้ามีการฝึกซ้อมหรือแข่งขันอย่างหนักก็อาจมีความต้องการพลังงานเพิ่มเป็นสองเท่าของคนทั่วไป โดยทั่วไปนักฟุตบอลชายรูปร่างสันทัดจะต้องการพลังงานประมาณ 2,000-4,000 กิโลแคลอรีต่อวัน

3. พึ่งคาร์โบไฮเดรตเสริมแรง

ในแง่ของสารอาหารที่มีความสำคัญอย่างยิ่งในการให้พลังงานสำหรับนักกีฬาก็คือ คาร์โบไฮเดรต ได้แก่ อาหารจำพวกข้าว ก๋วยเตี๋ยว แป้ง ธัญพืช น้ำตาล เป็นต้น ซึ่งควรเป็นส่วนประกอบอย่างน้อย 55-60% ของพลังงานที่ได้จากอาหาร เนื่องจากร่างกายจะเก็บคาร์โบไฮเดรตไว้เพื่อใช้เป็นแหล่งพลังงานโดยการแปลงเป็นสารไกลโคเจนแล้วเก็บสะสมไว้ที่ตับและกล้ามเนื้อ ในการเล่นฟุตบอลที่มีการวิ่งสปีดเป็นช่วง ๆ ไกลโคเจนจึงเป็นแหล่งพลังงานที่สำคัญอย่างยิ่ง เพราะหากร่างกายมีการสะสมไกลโคเจนไว้ไม่พอ นักกีฬาก็จะเกิดการเหนื่อยล้าได้ง่าย ซึ่งนอกจากจะทำให้ศักยภาพในการเล่นลดลงแล้ว ยังเพิ่มความเสี่ยงต่อการบาดเจ็บของกล้ามเนื้ออีกด้วย



ผู้ตั้งกระทู้ ชูใจ :: วันที่ลงประกาศ 2020-06-26 14:50:19


แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล 
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล



Copyright © 2010 All Rights Reserved.